การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับโลก อันมีสาเหตุหลักมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม เนื่องจากมีการนำพลังงานฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ซึ่งเป็นตัวเร่งส้าคัญที่ทำให้เกิดการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และท้าให้เกิดเป็นปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากพลังงานจากดวงอาทิตย์เดินทางถึงโลกในรูปของแสงแดดส่วนใหญ่จะถูกดูดซับโดยแผ่นน้ำและแผ่นดิน จากนั้นผิวโลกจะคายพลังงานความร้อนออกมาในรูปของรังสอินฟราเรดแล้วส่งกลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศ ก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นส่วนประกอบของชั้นบรรยากาศโลกจะกักเก็บรังสีอินฟราเรดบางส่วนไว้เพื่อรักษาอุณหภูมิโลกให้พอดีกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในโลก แต่เมื่อปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลกเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว รังสีอินฟราเรดส่วนที่ควรจะสะท้อนออกไปนอกโลกกลับถูกดูดซับไว้ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งพลังงานความร้อนที่ถูกสะสมไว้มากเกินไปก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนอุณหภูมิผิวโลกเพิ่มสูงขึ้นและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งส่งผลกระทบต่อโลกอย่างชัดเจน

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • น้ำท่วม

แบบจำลองสภาพภูมิอากาศจากหลายๆประเทศ ชี้ว่าภายในปี 2100 เหตุการณ์น้้าท่วมรุนแรงจะเกิดเพิ่มขึ้นหลายเท่าจากแต่ก่อน เขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มที่จะเกิดฝนตกหนัก และน้ำท่วมบ่อยครั้งขึ้น มีการละลายของภูเขาน้้าแข็งแถบขั้วโลกที่เพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ปริมาณน้้าในแม่น้้าและทะเลเพิ่มขึ้นตามลำดับ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ชุมชนของไทยมักจะประสบกับปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้ง ในแถบชายฝั่งด้านตะวันออกและทางใต้ของประเทศซึ่งตั้งอยู่ใกล้มหาสมุทร โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนนำความเสียหายอย่างมหาศาลมาสู่ชีวิตและทรัพย์สิน น้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ได้ท้าลายสิ่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทาง สิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นต้น ท้าลายพืชผลทางการเกษตร ชะล้างหน้าดินท้าให้ดินเสื่อมสภาพ เกิดการปนเปื้อนของน้ำ และคร่าชีวิตประชาชนจ้านวนมาก นอกจากนี้ปัญหาน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ยังส่งผลต่อการแพร่ของโรคระบาดทั้งในมนุษย์ พืชและสัตว์ และมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในการเกษตรประชาชนต้องสูญเสียที่ทำกิน ต้องอพยพย้ายถิ่น ผลผลิตระดับท้องถิ่นและระดับประเทศลดลง มีผลให้ประชาชนเกิดวิกฤตทางอารมณ์ซึ่งมีผลต่อการก่ออาชญากรรมที่สูงขึ้น

  • ความแห้งแล้ง

ปริมาณน้ำในโลกลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 21 – 31 ต่อปี สืบเนื่องจากความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกที่มีมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณรังสีดวงอาทิตย์บริเวณผิวโลกสูงขึ้น ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิบริเวณผิวโลกนี้ส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนและการระเหยของน้ำมีการเปลี่ยนแปลงไป ปริมาณน้้าในลำธารและน้ำใต้ดินลดลงเนื่องจากระเหยแห้งไปกับความร้อนที่สูงขึ้นหมด ทำให้ปริมาณฝนตกน้อยลงหรือทิ้งช่วงเป็นเวลานานเกิดภาวะแห้งแล้งขึ้น สภาวะแห้งแล้งนี้มีผลกระทบต่อการท้าเกษตรของไทยอย่างยิ่ง การปลูกพืชเศรษฐกิจของไทยที่มีปัญหาอยู่เสมอ เช่น พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดมีจำกัด ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ต่ำเนื่องจากความแปรปรวนของน้ำฝนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัญหาปริมาณน้ำฝนที่ไม่สม่้าเสมอก็ยังมีผลกระทบต่อการท้าไร่อ้อยด้วย

  • ความหลากหลายทางชีวภาพ

ภูมิภาคอินโด – พม่า (Indo-Burma) ซึ่งรวมถึงประเทศไทยจัดอยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงหรือพื้นที่วิกฤต (Hot spot) ต่อการสูญเสียทรัพยากรชีวภาพ เนื่องจากมีความหลากหลายของทรัพยากรมากแต่ได้รับการดูแลต่ำที่สุด ซึ่งเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สถานการณ์การสูญเสียทรัพยากรชีวภาพจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นมีความเป็นไปได้สูงที่สัตว์และพืชหลายๆ สายพันธุ์ในประเทศไทยจะลดลง และสูญพันธุ์ไป เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการกระจายของแหล่งที่อยู่ เนื่องจากพืชและสัตว์จะรับสัญญาณจากภูมิอากาศในการเปลี่ยนแปลงวงจรชีวิตให้สมบูรณ์ สามารถสืบทอดขยายพันธุ์ต่อไปได้อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นและปริมาณน้ำฝนที่เปลี่ยนแปลงไป มีผลให้สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ รวมถึงป่าไม้ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในภาวะที่โลกร้อนขึ้น มีการปรากฏการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิดในบริเวณพื้นที่ยอดเขา 2 – 3 แห่ง ที่ไม่สามารถอพยพย้ายถิ่นไปอยู่ในเขตที่สูงขึ้น หรือปรับตัวให้เข้ากับอากาศที่อุ่นขึ้นได้ ทำให้ผลผลิตจากป่าลดลง สูญเสียแหล่งพันธุกรรม ซึ่งเป็นทรัพยากรอันมีค่ายิ่งของประเทศ

 

ที่มา สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระบุรี